โซลาร์เซลล์

ติดโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านดีอย่างไร ประหยัดไฟได้มากแค่ไหน กี่ปีคืนทุน

ติดโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้านดีอย่างไร ประหยัดไฟได้มากแค่ไหน กี่ปีคืนทุน

ปัจจุบันนี้ หลายๆ บ้านกำลังพบกับปัญหาค่าไฟแพง ซึ่งการติดโซลาร์เซลล์จึงเป็นอีกทางเลือกในการแก้ปัญหานี้ แล้วการติดโซลาร์เซลล์ ช่วยแก้ปัญหาอะไรบ้าง ติดแล้วดีกับบ้านอย่างไร ประหยัดไฟได้แค่ไหน กี่ปีถึงจะคืนทุน มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

Table of Contents

    แผงโซลาร์เซลล์ คืออะไร

    โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ โดยพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที หรือนำมาใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ โซลาร์เซลล์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรกในปี 1954 โดย Pearson, Fuller และ Chapin 

    หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์ คือการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใช้แสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผ่านไปกระทบสารกึ่งตัวนำ ก่อให้เกิดการถ่ายทอดพลังงาน ซึ่งพลังงานจากแสงทำให้เกิด Electron โดยการทำงานของโซลาร์เซลล์จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ ดังนี้

    1. ดูดซับแสง 
    2. การแยกของตัวขนส่งประจุที่ต่างชนิดกัน 
    3. การแยกออกจากกันของตัวขนส่งไปยังวงจรภายนอก
    ติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

    ติดตั้งโซลาร์เซลล์ใช้ในบ้าน มีประโยชน์อย่างไร

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านนั้นมีความคุ้มค่ามากๆ แต่จะมีประโยชน์อะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย 

    ประหยัดค่าไฟ และค่าใช้จ่าย

    หลายๆ บ้านที่มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน ก็เพื่อต้องการประหยัดไฟ และช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ จะทำการดูดซึมแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด และไม่มีวันหมด มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้ประโยชน์แทนการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านั่นเอง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในบ้านนั้นช่วยลดค่าไฟได้ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนๆ ที่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศแทบทั้งวัน รวมไปถึงอัตราค่าไฟที่สูงขึ้นทุกปี การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงตอบโจทย์ต่อการประหยัดค่าไฟในยุคนี้ ซึ่งบ้านไหนที่มีค่าไฟสูงทุกเดือน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากๆ เพราะช่วยลดค่าไฟได้ถึง 60% เลยทีเดียว

    เปลี่ยนบ้านที่อากาศร้อน ให้มีอุณหภูมิที่เย็นขึ้น

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน ไม่ได้ช่วยแค่ประหยัดค่าไฟเท่านั้น แต่ยังช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นขึ้นด้วย เพราะการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาบ้าน จะช่วยลดการสะสมของความร้อนได้ เหมือนเป็นหลังคาบ้านอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว หลังคาบ้านก็เป็นตัวช่วยในการปกป้องแสงแดด และช่วยสะท้อนแสงแดดอยู่แล้ว การติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาบ้าน จึงช่วยให้บ้านมีอุณหภูมิเย็นลงได้ถึง 3 – 5 องศาเลยทีเดียว

    เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว

    การติดโซลาร์เซลล์ในบ้าน ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว แต่ในช่วงเริ่มต้นติดตั้ง จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูง แต่ถ้าหากผ่านจุดนี้ไปแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นกำไร เพราะการติดตั้งโซลาร์เซลล์มีความคุ้มค่ามาก โดยเฉพาะบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งวัน นอกจากนี้ การติดโซลาร์เซลล์ในบ้านยังถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านนั้นๆ อีกด้วย เพราะถ้าหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องนำบ้านไปปล่อยขาย หรือปล่อยเช่า ก็สามารถเรียกราคาของบ้านให้สูงขึ้นได้นั่นเอง 

    ไม่สร้างมลภาวะรอบๆ บริเวณบ้าน

    พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะหมดไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว กระบวนการการผลิตพลังงานต่างๆ มักจะซับซ้อน และก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ เช่น การเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งนำมาสู่การเกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้น การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อนำมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง ถือว่าเป็นการลดมลภาวะทางอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้าน จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งภายในบ้าน และนอกบ้าน ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เรียกได้ว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเลยก็ว่าได้ 

    ขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้าได้

    นอกจากจะประหยัดค่าไฟแล้ว การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านยังสามารถขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งข้อดีของการขายไฟฟ้าคืน คือช่วยให้มีรายได้กลับมาหลังจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยขั้นตอนการขายไฟคืน มีดังนี้ 

    1. ยื่นแบบ และอัปโหลดเอกสารผ่านระบบออนไลน์ 
    2. ผู้ยื่นต้องรอการไฟฟ้าพิจารณาแบบคำขอขายไฟฟ้า ประมาณ 7-10 วัน 
    3. ตรวจสอบกำลังการผลิต 
    4. ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน 
    5. ชำระค่าเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า 
    6. ผู้ยื่นขอทำการตรวจสอบระบบ 
    7. นัดหมายทดสอบระบบ

    ซึ่งบ้านที่จะขายไฟคืนได้ จะต้องเป็นประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่มีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไว้ใช้เอง ซึ่งสามารถขายได้ในระยะเวลา 10 ปี ในอัตรา 2.2 บาทต่อหน่วย 

    ติดแผงโซลาร์เซลล์ กี่ปีถึงจะคืนทุน?

    ติดแผงโซลาร์เซลล์ กี่ปีถึงจะคืนทุน?

    ปัจจุบันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพราะมีเทคโนโลยีที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง การติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงคุ้มค่าแก่การลงทุน และใช้เวลาในการคืนทุนเพียง 3 – 5 ปีเท่านั้น ซึ่งอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์โดยเฉลี่ยอยู่ 25 ปี และในปีที่ 6 – 25 จะได้กำไรถึง 2 เท่าจากเงินลงทุนในครั้งแรก 

    หลายๆ คนอาจจะมองว่าใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ถ้ารอให้ผ่านในจุดนี้ไปได้ การรอนี้ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก ทั้งนี้ ระยะการคืนทุนของแต่ละบ้านอาจจะไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟในแต่ละวัน และต้องคำนึงถึงขนาดของแผงโซลาร์เซลล์ด้วย 

    ราคาเริ่มต้นในการติดตั้งโซลาร์เซลล์

    ราคาแผงโซลาร์เซลล์ สำหรับบ้านนั้นขึ้นอยู่กับขนาด โดยราคาจะเริ่มต้นตั้งแต่ 70,000 – 500,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน ดังนี้

    • บ้านขนาดเล็ก สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1.5 กิโลวัตต์ โดยราคาการติดตั้งจะอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 100,000 บาท
    • บ้านขนาดกลาง หรือใช้เครื่องปรับอากาศ 2 – 3 ตัว สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 3 – 5 กิโลวัตต์ โดยราคาการติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 200,000 บาท 
    • บ้านขนาดใหญ่ หรือใช้เครื่องปรับอากาศ 4 – 5 ตัว สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 7 – 10 กิโลวัตต์ โดยราคาการติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 300,000 – 500,000 บาท

    โซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานกี่ปี?

    โซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี ซึ่งมีหลายปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่ออายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษา การเสื่อมสภาพของโซลาร์เซลล์เมื่อใช้งานไปนานๆ หรืออาจจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของแผงโซลาร์เซลล์ด้วยเช่นกัน 

    การดูแลแผงโซลาร์เซลล์ให้อยู่ได้นาน

    การดูแลแผงโซลาร์เซลล์ให้อยู่ได้นาน

    หลังจากติดตั้งโซลาร์เซลล์ และมีการใช้งานไปสักพักแล้ว แผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอาจมีคราบสกปรกได้ ซึ่งหากปล่อยไปนานๆ อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ดังนั้น ควรล้างแผงโซลาร์เซลล์อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี แล้วมีการดูแลโซลาร์เซลล์อย่างไรให้อยู่นาน ไปดูกัน!

    • ใช้น้ำเปล่าเช็ดให้สะอาด เลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาด และแปรงขัดแผง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะในส่วนด้านนอกของแผงโซลาร์เซลล์ ประกอบไปด้วยพลาสติก กระจก  และสารซิลิโคน ถ้าหากใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์เป็นกรด อาจทำให้สารซิลิโคนบนแผงโซลาร์เซลล์เกิดความเสียหายได้ 
    • หมั่นตรวจสอบความแข็งแรงของแผงโซลาร์เซลล์อยู่เสมอ ต้องป้องกันไม่ให้แผงโซลาร์เซลล์เป็นรอยฝ้า หรือมีรอยแตกร้าว เพราะอาจมีวัตถุของแข็งที่ตกลงมากระแทก ดังนั้น จึงควรดูแล และตรวจสอบ 2 ครั้งต่อปี ถ้าหากพบว่า แผงโซลาร์เซลล์เกิดความเสียหาย ให้รีบจัดการเปลี่ยนทันที 
    • สังเกตว่าเงาของต้นไม้บดบังแสงของแผงโซลาร์เซลล์หรือไม่ เพราะถ้าหากเกิดการบดบังแสง จะส่งผลให้แผงโซลาร์เซลล์ เกิดการรับแสงได้ไม่เต็มที่ เพราะเมื่อมีความเข้มข้นของแสงน้อยลง อาจทำให้โซลาร์เซลล์ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ 
    • ระบบสายไฟ ระบบควบคุม ระบบเชื่อมต่อ รวมถึงแบตเตอรี่ จะต้องอยู่ในสภาพดี สายไฟไม่หลวม ไม่ชำรุด หรือมีความเสื่อมสภาพ ถ้าหากพบว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีความเสียหาย ให้รีบแจ้งบริษัทที่ติดตั้งเข้ามาแก้ไขโดยด่วน 

    สรุป

    โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที หรือนำมาใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ จึงตอบโจทย์ต่อการประหยัดค่าไฟในยุคนี้ ซึ่งบ้านไหนที่มีค่าไฟสูงทุกเดือน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในบ้านถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะช่วยลดค่าไฟได้ถึง 60% เลยทีเดียว นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นคุ้มค่าแก่การลงทุนมาก เพราะคืนทุนเร็วได้ภายใน 3 – 5 ปี โดยอายุการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 25 ปี ซึ่งในปีที่ 6 – 25 จะได้กำไรถึง 2 เท่าจากเงินลงทุนในครั้งแรก และการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เหมาะกับบ้านทุกขนาด ไม่ว่าจะบ้านขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ 

    สำหรับใครที่สนใจอยากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ต้องเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กับ E Wave เพราะที่นี่มีผู้เชี่ยวชาญด้านโซลาร์เซลล์ มีบริการการติดตั้ง พร้อมบริการให้คำปรึกษาหลังการขาย และมีการรับประกันคุณภาพสินค้าอีกด้วย