หลังคาที่มีโครงสร้างแข็งแรง รับแสงได้ดีจากทางทิศใต้ และไม่มีอะไรบังเงาไม่ว่าจะเป็นอาคาร หรือต้นไม้ เหมาะสำหรับการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคา แต่อย่างไรก็ตามหากหลังคาหันไปทางทิศอื่นนอกจากที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ก็สามารถติดตั้งได้เช่นกัน แต่จะมีผลต่อการผลิตพลังงานลดลงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งบทความนี้จะพาไปดูว่าการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านมีประโยชน์อย่างไร เหมาะกับหลังคาบ้านแบบไหน แล้วมีราคาเท่าไร มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย
ติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีประโยชน์อย่างไร
ด้วยปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นสภาวะที่อากาศไม่คงที่ ฝนตกไม่ตรงกับฤดูกาล อากาศร้อนเกินไป ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ และการใช้พลังงานต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ทำให้ปัจจุบันได้มีการมองพลังงานทางเลือกที่จะมาช่วยปัญหาที่เกิดขึ้น และการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านก็เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือก แต่ในขณะเดียวกันการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกหลายอย่างดังต่อไปนี้
ประโยชน์ต่อเจ้าของบ้าน
- การใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้
- การติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านช่วยป้องกันแสงอาทิตย์ที่ส่องเข้าหลังคาซึ่งเป็นการช่วยลดอุณหภูมิ หรือความร้อนบนหลังคา
- ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการหารายได้เพิ่มเติมให้กับเจ้าของอาคารอย่างคุ้มค่า ด้วยการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ให้การไฟฟ้าในราคาพิเศษ (ในปี 2556 การติดตั้งและขายไฟฟ้าได้ในราคา 6.96 บาทต่อหน่วย สำหรับแผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์)
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
- ช่วยลดปัญหาโลกร้อน และไม่มีมลภาวะในขณะที่ผลิตไฟฟ้า เพราะการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นการใช้พลังงานที่สะอาด
- ช่วยลดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลากลางวัน
- การผลิตไฟฟ้าแบบกระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ก็จะช่วยการสร้างระบบสายส่งไฟฟ้า และเป็นการลดการสูญเสียไฟฟ้าในระบบสายส่งได้ด้วยเช่นกัน
- ช่วยลดการใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจได้เพราะการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานฟรี
หลักในการพิจารณาหลังคาก่อนติดโซลาร์เซลล์
แม้ว่าการติดตั้งโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหากับหลังคา แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความเหมาะสมของหลังคาให้ดี จะช่วยให้การติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเป็นไปได้ด้วยดี และปลอดภัย ซึ่งหลังคาควรจะมีเกณฑ์การพิจารณา ดังต่อไปนี้
ประเภทวัสดุ
วัสดุหลังคาหลากหลายชนิดสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ไม่ว่าจะเป็นหินชนวน ไม้ ซีเมนต์ กระเบื้อง และอื่นๆ อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น กระเบื้องชิงเกิ้ลถือเป็นวัสดุที่นิยมใช้ที่สุดเพราะแข็งแรง ราคาถูก แถมยังมีความยืดหยุ่น โดยมีอายุการใช้งานประมาณ 12-30 ปี นอกจากนี้ยังสามารถติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านได้ง่ายอีกด้วย
อีกวัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนานถึงประมาณ 40-75 ปีคือ โลหะ ที่สามารถป้องกันการเกิดไฟไหม้ได้ และยังช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี ที่สำคัญคือหลังคาโลหะมีร่องยื่นขึ้นที่สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้โดยไม่ต้องเจาะหลังคา แต่ควรระวังเมื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนวัสดุที่เปราะบาง อาจไม่สามารถรองรับแผงโซลาร์เซลล์ได้ดี ดังนั้นจึงควรตรวจสอบความแข็งแรงของวัสดุทุกครั้งก่อนการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเพื่อป้องกันความเสียหายขณะติดตั้งนั่นเอง
อายุการใช้งาน
แผงโซลาร์เซลล์สามารถใช้งานได้นานถึง 25 ปี ทำให้หากต้องการย้าย หรือเปลี่ยนแผงหลังจากติดตั้งในช่วงเวลาที่ไม่นานนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กสภาพหลังคาก่อนติดตั้งว่ายังคงแข็งแรง ทนทาน และไม่ต้องทำการซ่อมแซมในเร็วๆ นี้
ดังนั้นจะเห็นว่าหลังคาควรที่จะอายุน้อยกว่า 10 ปีจึงจะเหมาะสมในการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคามากกว่าหลังคาที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ซึ่งหากหลังคามีอายุมากเกินไปก็อาจจะต้องทำการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่ก่อน จึงจะเหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อการใช้งานที่ทนทานและยาวนาน
ระยะองศา
แผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือแผงที่ติดตั้งในมุมเอียง 15 ถึง 40 องศา ไม่ว่าหลังคาของคุณจะเป็นแบบไหน ถ้าคุณสามารถปรับมุมของแผงได้ตามที่กำหนดก็จะทำให้แผงโซลาร์เซลล์ของคุณจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด แต่กลับกันหากติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาแต่ไม่ได้พิจารณาถึงระยะองศาก็จะทำให้คุณอาจไม่ได้รับการผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั่นเอง
ทิศทางของแสงตกกระทบ
ทิศใต้เป็นทิศที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย เพราะได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุดตลอดวันซึ่งก็จะส่งผลให้แผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหลังคาของคุณหันทางตะวันออก หรือตะวันตกนั้นก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้เหมาะสมกับการใช้งานได้เช่นกัน
ขนาดและรูปร่าง
หลังคาที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส และพื้นที่กว้างเป็นหลังคาที่ดีที่สุดสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ในมุมเอียงที่เหมาะสม โดยมุมเอียงที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์คือ 15-40 องศา ซึ่งจะช่วยให้แผงโซลาร์เซลล์ได้รับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ ลดการสะสมฝุ่น และสิ่งสกปรกบนแผง
แม้ว่าหลังคาที่มีรูปทรงแปลกๆ หรือรูปทรงอื่นจะสามารถติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านได้ แต่ก็จะทำให้ต้องลดพื้นที่ที่ใช้ติดตั้งลง ควรเว้นที่ว่างอย่างน้อย 20% สำหรับการบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ และในขณะเดียวกันก็อาจต้องติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหลังจากในทิศทางที่ไม่เหมาะสม หรือมุมเอียงที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงอีกด้วย
ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านแบบไหนดี?
หลังจากที่พิจารณาหลักการติดแผงโซลาร์เซลล์เรียบร้อยแล้ว มาดูหลังคาบ้านที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ว่าควรจะติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านแบบไหนจึงจะเหมาะสม? ดังนี้
หลังคาบ้านแบบทรงจั่ว
หลังคาทรงจั่วเป็นหลังคาที่มีหน้าจั่วเป็นสามเหลี่ยมยาว และลาดเอียงสองด้านที่ประกอบกันที่ปลายบน และด้วยการลาดเอียง 2 ด้าน ทำให้มีข้อจำกัดในการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหลังคาทรงนี้ จะเป็นที่นิยมเพราะมีรูปทรงง่าย และเหมาะกับบ้านหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์โมเดิร์น หรือบ้านสไตล์ร่วมสมัย ในขณะเดียวกันหลังคาทรงจั่วยังสามารถใช้ได้กับทุกภูมิภาคอีกด้วย
หลังคาบ้านแบบทรงปั้นหยา
หลังคาทรงปั้นหยาเป็นหลังคาที่มีหน้าจั่วเป็นทรงเหลี่ยมที่พิงเข้าหากันที่ยอด และลาดเอียงทุกด้าน และด้วยลักษณะที่ลาดเอียงนี้ก็ทำให้พื้นที่การติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม หากติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านในด้านที่สามารถรับแสงแดดได้เต็มที่ในช่วงเวลากลางวันก็ถือเป็นเรื่องที่ดีมากเช่นกัน
หลังคาบ้านแบบทรงเพิงแหงน
หลังคาทรงเพิงแหงนเป็นหลังคาที่ลาดเอียงด้านเดียว และมีชายคาเป็นกันแดดกันฝน หลังคานี้เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นที่มีรูปทรงเหลี่ยม ทำให้บ้านดูเรียบง่ายแต่สมาร์ต หลังคาทรงเพิงแหงนยังสามารถนำไปใช้กับบ้านสไตล์อื่นๆ เช่นบ้านสไตล์โมเดิร์น นอกจากนี้หลังคาบ้านแบบทรงเพิงแหงนยังเหมาะสมสำหรับการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านที่สุด
หลังคาบ้านแบบทรงแบน
หลังคาทรงแบนเป็นหลังคาที่ไม่มีลาดเอียง แต่เป็นพื้นที่ราบในระนาบเดียว เหมาะสำหรับการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน แต่ในการติดตั้งนั้นจะต้องยกแผงโซลาร์เซลล์ให้มีความลาดเอียงเพื่อให้ได้รับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านราคาเท่าไร?
ราคาของการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ขนาดและประเภทของแผงโซลาร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ ระบบไฟฟ้า ค่าแรงและค่าบริการของผู้ติดตั้ง ค่าอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นๆ โดยราคาเฉลี่ยของการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านในปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 25,000-40,000 บาทต่อกิโลวัตต์ หรือ 25-40 บาทต่อวัตต์
ดังนั้น หากคุณต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1,000 วัตต์ หรือ 1 กิโลวัตต์ คุณจะต้องใช้เงินประมาณ 25,000-40,000 บาท และหากคุณต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 5,000 วัตต์ หรือ 5 กิโลวัตต์ คุณจะต้องใช้เงินประมาณ 125,000-200,000 บาท
สรุป
การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเป็นการลงทุนที่มีประโยชน์ในระยะยาว ทั้งต่อตัวเองในเรื่องของการลดค่าไฟฟ้า รวมไปจนถึงต่อส่วนรวมด้วยการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มมูลค่าบ้าน แต่อย่างไรก็ตามการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านนั้น ควรพิจารณาจากหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ราคา ประสิทธิภาพ และความเหมาะสมของแผงโซลาร์เซลล์
หากกำลังสนใจพลังงานทางเลือกอย่างโซลาเซลล์ ขอแนะนำ Ewave เพราะด้วยประสบการณ์ การทำงานด้านพลังงาน มากกว่า 18 ปี จึงมั่นใจได้ในความเชี่ยวชาญด้านระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนครอบคลุมครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบการติดตั้ง การคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ของแต่ละบ้าน ตลอดจนให้คำปรึกษาหลังการขายทุกกรณี