Uncategorized

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผิดกฎหมายไหม? หากไม่ขออนุญาตจะมีโทษอะไร

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผิดกฎหมายไหม? หากไม่ขออนุญาตจะมีโทษอะไร
Table of Contents

    Key Takeaway

    • คนส่วนใหญ่ไม่ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์เพราะคิดว่ายุ่งยากและเสียเวลา รวมถึงไม่ทราบถึงผลกระทบทางกฎหมาย แต่หากไม่ขออนุญาตอาจได้รับโทษตามกฎหมายการดัดแปลงอาคาร เช่น โทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงอาจมีโทษวันละไม่เกิน 10,000 บาท
    • โดยกฎหมายที่เกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ได้แก่ การขอติดตั้ง การขออนุญาตเชื่อมโครงข่าย การติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉิน ในกรณีที่เป็นผู้ประกอบการต้องยื่นการประกอบกิจการไฟฟ้า แต่ก็ยังสามารถขอยกเว้นไม่รับใบอนุญาตการซื้อ – ขายได้เช่นกัน
    • สามารถทราบรายละเอียดของขั้นตอนการติดตั้งได้ที่ อัปเดตใหม่ การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำอะไรบ้าง? ฉบับปี 2567
    • ควรติดตั้งอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาในภายหลัง โดยสามารถติดโซลาร์เซลล์กับ Ewave Thai ที่เป็นผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทน ให้คำปรึกษาและออกแบบการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร

    “โซลาร์เซลล์” หรือ “พลังงานแสงอาทิตย์” กำลังเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย เพราะเป็นทางเลือกใหม่ในการผลิตไฟฟ้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและลดภาระค่าไฟได้ แต่ก็มีข้อสงสัยว่า “การติดตั้งโซลาร์เซลล์ล์ผิดกฎหมายหรือไม่” ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีกฎหมายข้อไหนเกี่ยวข้องกับโซลาร์เซลล์โดยตรง ดังนั้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์จึงถือว่าไม่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้องเพราะมีการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงอาคาร 

    หากไม่ขออนุญาตจะมีโทษอย่างไรบ้าง? เพื่อให้การติดตั้งเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ป้องกันการถูกฟ้องร้องและเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาศึกษากฎหมายเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์อย่างละเอียด พร้อมกับสิ่งที่ควรทำก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ ในบทความนี้

    ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงไม่ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

    ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงไม่ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ 

    หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดและพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “การติดตั้งโซลาร์เซลล์ไม่ต้องขออนุญาตก็ได้ ไม่มีใครเค้าขอกันหรอก” เพราะว่าบ้านที่อยู่อาศัยมักจะคิดอัตราค่าไฟแบบอัตราปกติในลักษณะขั้นบันได หากใช้มาก ค่าไฟยิ่งสูงขึ้น ไม่ได้สนว่าใช้ช่วงเวลาไหน และที่สำคัญมิเตอร์ไฟบ้านๆ ก็ใช้แบบจานหมุน 

    พูดง่ายๆ คือเมื่อไฟฟ้าถูกจ่ายย้อนกลับเข้าสายส่งของการไฟฟ้า มิเตอร์จานหมุนจะหมุนย้อนกลับ ทำให้ตัวเลขที่พนักงานการไฟฟ้าจดมาน้อยลง จึงช่วยลดค่าไฟส่วนที่แพงที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างคุ้มค่า โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าผลิตในช่วงกลางวันแล้วใช้ไฟฟ้า ณ เวลานั้นหรือไม่ 

    สำหรับความแตกต่างเมื่อขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้อง หลังจากดำเนินเรื่องขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มิเตอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นมิเตอร์แบบดิจิตอล ซึ่งไม่สามารถหมุนย้อนกลับได้ เมื่อตัวเลขไฟฟ้ามาจดจะเดินตามปกติ แต่ถ้าไม่ได้ใช้ไฟฟ้าขณะที่โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าจริงๆ ไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะเสียไปเปล่าๆ 

    หากติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ขออนุญาต จะได้รับโทษอย่างไร

    หากติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ขออนุญาต จะได้รับโทษอย่างไร

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผิดกฎหมายไหม? แม้การติดตั้งโซลาร์เซลล์ไม่ถือว่าผิดกฎหมายโดยตรง แต่หากไม่ขออนุญาตก็ถือว่าผิดกฎหมายการดัดแปลงอาคาร ซึ่งมีโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 อยู่ข้อที่ 65 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมมีโทษอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท แต่บางคนยึดตามกฎหมายข้อ 68 ซึ่งระบุว่ากฎหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 140 ตารางเมตรและน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร 

    อย่าลืมเช็กที่ข้อความท้ายระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและรับรองส่งตรงจากวิศวกรโยธาว่ามีความปลอดภัยจริง พร้อมกับแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้ทราบก่อนดำเนินการ หากไม่ปฏิบัติตามก็ยังคงถือว่าผิดข้อกฎหมายการดัดแปลงอาคารอยู่ดี

    กฎหมายที่เกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

    กฎหมายที่เกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์

    หลายบ้านคงอยากติดโซลาร์เซลล์กันไม่น้อย แต่ก็ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายโซลาร์เซลล์อยู่ ฉะนั้นตามไปดูข้อกฎหมายกันแบบละเอียดพร้อมกันเลย 

    การขอดำเนินเรื่องการติดตั้ง

    บ้านไหนจะติดตั้งต้องดำเนินการตามกฎหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่หน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล หรือ อบต. เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้าง  อ.1 หรือ IEAT 02/2 สำหรับการรื้อถอนและดัดแปลงอาคาร หากติดตั้งบนหลังคาที่มีพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่ต้องยื่นคำร้องเพื่อแจ้งทราบการติดตั้ง ซึ่งจะต้องมีการทดสอบความแข็งแรงและรับรองจากวิศวกรโยธา ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง เมื่อได้รับหนังสือเรียบร้อยแล้วจึงสามารถดำเนินการติดตั้งได้ทันที 

    สำหรับผู้ประกอบการ ต้องยื่นขออนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้า

    กฎหมายเกี่ยวกับโซลาร์เซลล์สำหรับผู้ประกอบการหรือองค์กร ต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ 2550 โดยระยะเวลาดำเนินการเอกสารและพิจารณาอนุมัติประมาณ 2 เดือน ยกเว้นการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาที่มีขนาดกำลังติดตั้งไม่เกิน 100 กิโลวัตต์ ซึ่งไม่ต้องดำเนินการขออนุญาตดังกล่าว

    การขอยกเว้น ไม่รับใบอนุญาตการซื้อ-ขาย สำหรับผู้ประกอบการ 

    สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อใช้ภายในอาคาร  สามารถขอยกเว้นไม่รับใบอนุญาตการซื้อ – ขาย โดยการยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นได้ง่ายๆ ผ่านทางระบบออนไลน์หรือสำนักงาน กกพ. ประจำพื้นที่ 

    การขออนุญาตเชื่อมต่อโครงข่าย

    เมื่อการติดตั้งโซล่าเซลล์เสร็จสิ้นแล้ว ต้องดำเนินการแจ้งการไฟฟ้าประจำพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าเข้ามาตรวจสอบและทดสอบการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า พร้อมกับชำระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าได้กำหนดไว้

    การติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์

    แม้ว่าการติดตั้งระบบอินเวอร์เตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ จะต้องได้รับรองมาตรฐานจาก กฟภ. หรือ กฟน. เจ้าหน้าที่จะเข้ามาตรวจสอบและทดสอบระบบการทำงานก่อนการติดตั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอุปกรณ์ได้มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบภายหลัง

    การติดตั้งตามมาตรฐานระบบหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน

    ถึงโซลาร์เซลล์จะมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการผลิตไฟฟ้า แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นจึงมีมาตรการติดตั้งระบบหยุดทำงานกรณีฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วสท. 022013-22 เพื่อช่วยตัดระบบการทำงานและลดแรงดันไฟฟ้าเมื่อเกิดการขัดข้อง 

    การติดตั้งระบบหยุดทำงานฉุกเฉินจึงมีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะสำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดใหญ่ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ระบบนี้จะช่วยป้องกันการของปัญหาและลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา  

    ขั้นตอนการการติดตั้งโซลาร์เซลล์

    การขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงศึกษาข้อกำหนดการขออนุญาตกฎหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ ฉบับอัปเดตปี 2567 ก็สามารถดำเนินการได้ง่ายดาย ดังนี้

    • ตรวจสอบพื้นที่อาคาร : ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอาคาร พร้อมกับสำรวจพื้นที่จริงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความเหมาะสม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากๆ
    • ออกแบบระบบโซลาร์เซลล์ : ต้องพิจารณาถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้า ทิศทางและระดับความลาดเอียงของหลังคา รวมถึงประเภทของแผงโซล่าเซลล์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
    • เลือกซื้ออุปกรณ์โซลาร์เซลล์ : นอกจากแผงโซลาร์เซลล์แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องพิจารณาก่อนติดตั้ง เช่น เครื่องแปลงไฟหรืออินเวอร์เตอร์ ควรเลือกขนาดประมาณ 85% และแบตเตอรี่ต้องมีขนาดความจุเพียงพอสำหรับการเก็บไฟฟ้า 
    • ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ : ควรให้ช่างผู้ชำนาญการดำเนินการติดตั้งเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินเอกสารและการขออนุญาตที่ถูกต้อง

    หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารและขั้นตอนต่างๆ รวมถึงพื้นที่ที่อยู่ต้องดำเนินเรื่องขอที่ไหน? สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ อัปเดตใหม่ การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทำอะไรบ้าง? ฉบับปี 2567 

    ผลกระทบของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ขออนุญาต

    ผลกระทบของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ขออนุญาต

    มาดูผลกระทบเมื่อมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาต เมื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้ว ในช่วงกลางวันโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าแต่ไม่มีการใช้ไฟ มิเตอร์แบบเก่าจะหมุนย้อนกลับ เมื่อเจ้าหน้าที่มาจดมิเตอร์และพบว่ามิเตอร์หมุนย้อนกลับ มิเตอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลอัตโนมัติ ซึ่งจะไม่สามารถหมุนย้อนกลับได้ อาจทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และสุดท้าย คุณอาจจะเหลือแค่ระบบโซลาร์เซลล์โดยไม่มีประโยชน์ในการลดค่าไฟอย่างที่คาดหวัง 

    นอกจากนี้ ปัญหาที่ตามมาจากการติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาตอาจรวมถึงความเสี่ยงของระบบที่อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเกิดอัคคีภัย แม้ว่าการขออนุญาตจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหานี้ แต่ผู้ที่ดำเนินการติดตั้งตามมาตรฐานมักจะไม่แนะนำให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาตตามกฎหมายโซลาร์เซลล์ เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดคิด เจ้าของบ้านจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาหากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาตคืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบสายส่งและกระทบต่อภาพรวมการผลิตไฟฟ้าอีกด้วย

    หากไม่ขออนุญาต การไฟฟ้าจะไม่ทราบถึงปริมาณการจ่ายไฟย้อนกลับจากระบบโซลาร์เซลล์ ซึ่งหากมีการกระทำแบบนี้เป็นจำนวนมาก และหม้อแปลงไม่สามารถรองรับได้อาจส่งผลให้หม้อแปลงระเบิดในบริเวณนั้น  ส่วนผลระยะยาวในอนาคต มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไม่ขออนุญาตเป็นจำนวนมาก จะทำให้การประมาณการขนาดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นไปได้ยากและอาจไม่แม่นยำ

    มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือไม่

    หลายคนสงสัยเกี่ยวกับการติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาตตามข้อกฎหมายโซลาร์เซลล์  ในกรณีนี้มีการติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไม่ขออนุญาต ซึ่งมักจะเป็นระบบโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด (off grid) 

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด (off-grid) ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าหลัก ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นเดียวกับการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ต่างๆ อาทิ โคมไฟโซลาร์เซลล์ และหลอดไฟโซลาร์เซลล์ ก็ไม่ต้องดำเนินการขออนุญาต

    สรุป

    ไขข้อสงสัยอย่างชัดเจน การติดตั้งโซลาร์เซลล์ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ต้องดำเนินการขออนุญาตอย่างถูกต้อง เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงและดัดแปลงอาคาร แม้การติดตั้งโซลาร์เซลล์จะไม่ผิดกฎหมายโดยตรง แต่การไม่ขออนุญาตยังถือว่าผิดกฎหมายการดัดแปลงอาคารอยู่ดี จึงควรขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์อย่างถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ร้ายแรง เช่น อัคคีภัย ความเสียหายต่อระบบสายส่ง และการระเบิดของหม้อแปลง ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมของการไฟฟ้า

    นอกจากนี้การติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยไม่ขออนุญาตยังถือว่าผิดกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและดัดแปลงอาคาร ซึ่งอาจมีโทษปรับและจำคุก ดังนั้นหากคุณสนใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่ไม่มีเวลาศึกษารายละเอียดมากนัก แนะนำให้ปรึกษากับ Ewave Thai ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งสามารถให้คำปรึกษาและออกแบบการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร พร้อมบริการหลังการขายจากทีมงานคุณภาพ