โซลาร์เซลล์

อัปเดตใหม่ การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ 2567

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการแก้ปัญหาค่าไฟแพง แต่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ จำเป็นจะต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง อยากติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องรู้! ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ฉบับปี 2567 มัดรวมมาให้แล้วในบทความนี้ จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนยังไง และทำที่ไหน บทความนี้มีคำตอบ!

Table of Contents
    ทำไมต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์?

    ทำไมต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์?

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรือการทำโซลาร์ฟาร์ม จะต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะช่วยให้มีความปลอดภัย ป้องกันไม่เกิดปัญหาภายหลังการใช้งานโซลาร์เซลล์ ทั้งนี้การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะขอติดตั้งได้เฉพาะระบบ On Grid และระบบ Hybrid ที่ใช้งานควบคู่กัน ถ้ามีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่มีการขอนุญาตก่อนการติดตั้ง จะทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้

    เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ จะไหลเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้มิเตอร์ไฟมีการไหลกลับไปมา การไฟฟ้าก็จะทราบว่ามีบ้านที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยที่ไม่มีการขออนุญาตก่อน ซึ่งบ้านหลังนั้นจะถูกแจ้งให้ถอดแผงโซลาร์เซลล์ออก และเจ้าของบ้านจะต้องเสียค่าปรับที่คำนวณจากค่าไฟที่ถูกผลิตจากโซลาร์เซลล์พร้อมกับดอกเบี้ย

    ติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบไหน ไม่ต้องขออนุญาต

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยไม่ขออนุญาต ใช้ได้เฉพาะโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid เพราะเป็นโซลาร์เซลล์แบบ Stand Alone ซึ่งไม่มีการเชื่อมต่อระบบไฟของการไฟฟ้า จึงสามารถใช้งานได้เลยหลังจากติดตั้ง โซลาร์เซลล์แบบ Off Grid ที่ไม่ต้องขออนุญาตก่อนติดตั้ง อย่างเช่น โคมไฟติดตั้งในสวน ปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์ หรือโคมไฟริมรั้ว รวมถึงโซลาร์เซลล์แบบ Off Grid ที่ใช้แบตเตอรี่ในการเก็บพลังงาน ไม่ต้องขออนุญาตการติดตั้ง แต่หากโซลาร์เซลล์มีการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้า อย่าง hybrid off grid จำเป็นต้องขออนุญาต ก่อนที่จะทำการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้งาน 

    หลักเกณฑ์ยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ 2567

    หลักเกณฑ์ยื่นขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ มี 3 เงื่อนไข ดังนี้

    เงื่อนไขที่ 1 : แผงโซลาร์เซลล์ (PV) < 200 กิโลวัตต์ (<200,000 วัตต์)

    เงื่อนไขที่ 2 : แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >= 200 กิโลวัตต์ แต่ไม่เกิน 1,000 กิโลวัตต์ (200,001 วัตต์ – 1,000,000 วัตต์)

    เงื่อนไขที่ 3 : แผงโซลาร์เซลล์ (PV) >=1,000 กิโลวัตต์ (1,000,000 วัตต์) ขึ้นไป

    สำหรับการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคา ตามโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา แผงโซลาร์เซลล์ จะต้องมีกำลังไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถขายไฟที่เหลือคืนให้การไฟฟ้าได้ ในอัตรา 2.2 บาท/หน่วย ในระยะเวลา 10 ปี แต่ถ้าไม่เข้าร่วมโครงการประเภทที่ 1 ก็สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้มากกว่า 10 กิโลวัตต์

    ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง 2567

    • แบบคำขอเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845
    • กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เตรียมสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของเครื่องวัดฯ แต่ถ้าเป็นนิติบุคคล เตรียมหนังสือรับรองนิดติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
    • แผนผังแสดงที่ตั้งของสถานที่เชื่อมต่อฯ
    • แผนภูมิระบบไฟฟ้าที่วิศวกรรับรองแบบ
    • สำเนาใบประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกร
    • เอกสารแสดงคุณสมบัติของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
    • แบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของกฟน. สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://www.mea.or.th/minisite/vspp/about/845
    • รายละเอียดอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า

    ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ฉบับปี 2567

    ก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ดังนี้

    1. ยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร

    การยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เป็นกรณีที่อาคารอยู่ในพื้นที่เขตควบคุมของกฎหมาย จึงต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคารก่อน เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขออนุญาต ได้แก่ แบบคำขอ ข.1 แบบแปลนแผนผังและโครงสร้างหลังคา โครงสร้างรองรับแผงโซลาร์เซลล์และรายละเอียดการติดตั้งโซลาร์เซลล์ รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มของการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรที่เป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานต่างๆ โดยเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 20 บาท การออกใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร 10 บาท และค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคาร ทั้งนี้การขอนุญาตดัดแปลงอาคาร ซึ่งสามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานส่วนท้องถิ่น

    2. ลงทะเบียนขอติดตั้งโซลาร์เซลล์

    ผู้ที่จะติดตั้งโซลาร์เซลล์จะต้องลงทะเบียนที่สำนักงาน กกพ. หรือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หากใครไม่สะดวกไปลงทะเบียน ก็สามารถเข้าเว็บไซต์ออนไลน์ www.erc.or.th  เพื่อลงทะเบียนได้ สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ 

    1. สำเนาบัตรประชาชนที่ตรงกับชื่อผู้ใช้ไฟและบิลค่าไฟ
    2. สำเนาหลักฐานการยื่นแจ้งจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น 
    3. ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้ง รวมถึงอินเวอร์เตอร์
    4. แบบแปลนแสดงแผนผังและโครงสร้างการติดตั้ง   
    5. แบบแผนภูมิระบบไฟฟ้า พร้อมการรับรองของวิศวกรไฟฟ้ากำลัง 
    6. รายการคำนวณโครงสร้าง แบบฟอร์มการสำรวจอาคาร และเอกสารรับรองของวิศวกรโยธา ที่ทำการควบคุมงานและออกแบบ  
    7. ภาพถ่ายการติดตั้งอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์และอินเวอร์เตอร์

    3. แจ้งติดตั้งโซลาร์เซลล์กับกฟภ. / กฟน.

    หลังจากยื่นขออนุญาตดัดแปลงอาคารและลงทะเบียนขอติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้ว ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านจะต้องนำหนังสือขออนุญาตการติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแจ้งต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง หากใครไม่สะดวกไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ก็สามารถแจ้งผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้า MEA  https://myenergy.mea.or.th/ หรือ PEA https://ppim.pea.co.th:4433/app/project/eco  สิ่งที่ต้องเตรียมได้แก่ 

    1. แบบคำขอ ข.1 
    2. เอกสารแสดงแผนผังและโครงสร้างหลังคา 
    3. บัตรประชาชนของผู้ใช้ไฟฟ้า 
    4. หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) ตามใบแจ้งยอดค่าไฟฟ้า 
    5. ชนิด รุ่น ยี่ห้อของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งและอินเวอร์เตอร์ 
    6. แผนภูมิระบบไฟฟ้า 
    7. ข้อมูลของแผนที่ตั้ง รูปถ่ายบ้าน และรูปถ่ายที่เห็นแผงโซลาร์เซลล์ครบทุกแผง

    4. ยื่นหนังสือรับ

    นำหลักฐานการทดสอบและตรวจสอบระบบของโซลาร์เซลล์ ที่ได้รับจากการไฟฟ้า รวมถึงเอกสารการชำระเงิน ไปยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อรับหนังสือยกเว้นการขออนุญาตฯ หลังจากนั้นนำหนังสือการยกเว้นไปยื่นต่อการไฟฟ้า หลังจากนั้นการไฟฟ้า จะมาตรวจสอบตามข้อกำหนด  ถ้าข้อกำหนดผ่าน การไฟฟ้าจะทำการเปลี่ยนมิเตอร์มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นมิเตอร์ไฟสำหรับโซลาร์เซลล์ ก็สามารถเริ่มใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ได้ทันที ซึ่งขั้นตอนการพิจารณา จะต้องรอประมาณ 30 วัน และมีค่าใช้จ่าย 8,500 + VAT 595 บาท

    ยื่นเรื่องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ ที่ไหนได้บ้าง

    การยื่นเรื่องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะต้องศึกษาก่อนว่าเขตไหน สามารถยื่นเรื่องได้บ้าง ซึ่งมีดังนี้

    ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ กฟน.

    กฟน. จะครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งแบ่งออกเป็น 18 เขตพื้นที่ ดังนี้

    • เขตคลองเตย
    • เขตวัดเลียบ
    • เขตยานนาวา
    • เขตสามเสน
    • เขตลาดพร้าว
    • เขตบางกะปิ
    • เขตธนบุรี
    • เขตราษฎร์บูรณะ
    • บางขุนเทียน
    • เขตนนทบุรี
    • เขตบางใหญ่
    • เขตบางบัวทอง
    • เขตบางเขน
    • เขตสมุทรปราการ
    • เขตมีนบุรี
    • เขตลาดกระบัง
    • เขตประเวศ
    • เขตบางพลี

    ขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ กฟภ.

    กฟภ. จะแบ่งออกเป็น 4 ภาค โดยแต่ละภาคนั้น แบ่งเป็น 3 เขตย่อยๆ ดังนี้

    ภาคเหนือ ได้แก่

    • กฟน.1 เชียงใหม่ มีพื้นที่ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง และลำพูน
    • กฟน.2 พิษณุโลก มีพื้นที่ให้บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ ตาก พิษณุโลก พิจิตร แพร่ กำแพงเพชร สุโขทัย น่าน และอุตรดิตถ์
    • กฟน.3 ลพบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

    • กฟฉ.1 อุดรธานี มีพื้นที่ให้บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย บึงกาฬ หนองคาย นครพนม และสกลนคร
    • กฟฉ.2 อุบลราชธานี มีพื้นที่ให้บริการ 8 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และศรีสะเกษ
    • กฟฉ.3 นครราชสีมา มีพื้นที่ให้บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

    ภาคกลาง ได้แก่

    • กฟก.1 พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ให้บริการ 7 จังหวัด  ได้แก่ อ่าทอง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปทุมธานี ปราจีนบุรี สระแก้ว และนครนายก
    • กฟก.2 ชลบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด
    • กฟก.3 นครปฐม มีพื้นที่ให้บริการ 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี

    ภาคใต้ ได้แก่

    • กฟต.1 เพชรบุรี มีพื้นที่ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และราชบุรี (ยกเว้นอำเภอบ้านโป่ง)
    • กฟต.2 นครศรีธรรมราช มีพื้นที่ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา กระบี่ และภูเก็ต
    • กฟต.3 ยะลา มีพื้นที่ให้บริการ 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา พัทลุง ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล

    สรุป

    การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านหรือการทำโซลาร์ฟาร์ม จะต้องขออนุญาตก่อนติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพราะการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ จะช่วยให้มีความปลอดภัย ป้องกันไม่เกิดปัญหาภายหลังการใช้งานโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถยื่นใบขออนุญาติการติดตั้งโซลาร์เซลล์ กับหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเทศบาลหรือ สำนักงานเขต หลังจากนั้นลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงาน ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และแจ้งไปยังการไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆ เพื่อตรวจสอบผ่านแล้ว จึงจะสามารถใช้งานพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ หากใครวางแผนจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ เพื่อประหยัดค่าไฟ ที่ Ewave มีบริการติดตั้งโซลาร์เซลล์ พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ ตั้งแต่ขั้นตอนก่อนติดตั้ง ไปจนถึงบริการหลังการติดตั้งที่ครอบคลุม หมดกังวลทุกปัญหา ติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้อย่างสบายใจ