Key Takeaway
- โซลาร์ฟาร์ม คือ โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และช่วยลดค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้าได้ในระยะยาว
- ฟาร์มโซลาร์เซลล์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ แบบลอยน้ำ และแบบยึดอยู่กับ โดยธุรกิจที่เหมาะกับโซลาร์ฟาร์ม คือ คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า โรงแรมและรีสอร์ต ฟาร์มปศุสัตว์ เป็นต้น
- การลงทุนในโซลาร์ฟาร์ม 1 MW ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท และใช้พื้นที่เฉลี่ยประมาณ 8-15 ไร่
- การทำโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ สามารถสร้างรายได้จากการขายไฟคืนเฉลี่ย 1,100 บาท ต่อวัน และเฉลี่ยต่อปีประมาณ 396,000 – 400,000 บาท
โซลาร์ฟาร์มไม่เพียงแต่เป็นแหล่งพลังงานสะอาด แต่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ บทความนี้จะพาคุณไปวิเคราะห์โอกาสทางเศรษฐกิจที่โซลาร์ฟาร์มจะนำมาสู่ประเทศไทย และทำไมนักลงทุนจึงให้ความสนใจในโซลาร์ฟาร์มมากขึ้นเรื่อยๆ
โซลาร์ฟาร์ม พลังงานสะอาดที่เปลี่ยนโลก
โซลาร์ฟาร์ม หรือฟาร์มโซลาร์เซลล์ คือ โรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลัก โดยมีอุปกรณ์สำคัญที่ใช้การผลิตพลังงานไฟฟ้า อย่างแผงโซลาร์เซลล์แบบโฟโตวอลตาอิค (PV) ที่ทำหน้าที่ดูดซับและเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อแปลงพลังงานจากดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้งาน ซึ่งธุรกิจฟาร์มโซลาร์เซลล์ จะประกอบไปด้วยแผงที่ใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เป็นจำนวนมาก โดยมักติดตั้งบริเวณพื้นที่โล่งกว้าง เช่น พื้นดินและผิวน้ำ เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เต็มที่ และส่งต่อพลังงานไฟฟ้าไปยังธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือการไฟฟ้า เพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่นได้อย่างครอบคลุม
ดังนั้น การทำโซลาร์ฟาร์มถือเป็นแหล่งพลังงานสะอาด ที่สามารถนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ได้ไม่จำกัด ช่วยส่งเสริมเรื่องการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการปล่อยมลพิษ จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายชั้นบรรยากาศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งช่วยลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าในระยะยาวอีกด้วย
โซลาร์ฟาร์ม มีกี่รูปแบบ
โซลาร์ฟาร์มมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และลักษณะการติดตั้ง ผู้ที่สนใจหรือผู้ที่อยากทำธุรกิจฟาร์มโซลาร์เซลล์ ควรศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีรูปแบบการติดตั้ง 3 รูปแบบหลัก ดังนี้
1. การติดตั้งแบบหมุนตามดวงอาทิตย์
การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ คือ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้สามารถหมุนตามทิศทางดวงอาทิตย์ ผ่านระบบควบคุมการหมุนของแผงโซลาร์เซลล์ วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้ง เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ต่อเนื่อง ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
ข้อดี
การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ใช้งานได้ดีกว่าการติดตั้งแบบอยู่กับที่ ประมาณ 20–30% ส่วนมากนิยมติดตั้งตามโรงไฟฟ้าเอกชน หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากใช้พื้นที่ในการติดตั้งค่อนข้างมาก
ข้อจำกัด
มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ค่อนข้างสูง ต้องติดตั้งบนพื้นที่โล่งกว้างที่สามารถรับแสงแดดได้อย่างเต็มที่ แล้วจึงเชื่อมต่อแผงเข้ากับโปรแกรมควบคุมการหมุน เพื่อให้แผงเอียงหรือหมุนตามแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน
2. การติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำ
รูปแบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ เป็นการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์ทั้งหมดบนผืนน้ำผ่านทุ่นลอยน้ำ วัตถุประสงค์ของการติดตั้งบนผิวน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่บนบกหรือบนดิน ให้สามารถใช้งานพื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น โดยวิธีการติดตั้ง จะนำแผงโซลาร์เซลล์มาติดกับฐานที่เป็นคำนวณพลาสติก เกรดเม็ดพลาสติก HDPE ซึ่งแข็งแรง เหมาะกับใช้งานกลางแสงแดด และปลอดภัยต่อระบบนิเวศใต้น้ำ
ข้อดี
ความเย็นของผิวน้ำช่วยลดอุณหภูมิของแผงจากแสงแดดที่ตกกระทบ ช่วยระบายความร้อนของแผง จึงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า และยังช่วยลดการระเหยของน้ำได้อีกด้วย ทำให้นิยมติดตั้งบริเวณที่มีแหล่งน้ำรอบๆ หรือพื้นที่ทางการเกษตรมากกว่า
ข้อจำกัด
ต้นทุนการติดตั้งและบำรุงรักษาที่สูงกว่าระบบบนบก เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีพิเศษ ความซับซ้อนในการออกแบบโครงสร้างให้รับน้ำหนักและทนทานต่อสภาพอากาศที่ผันแปร รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในแหล่งน้ำ
3. การติดตั้งแบบยึดอยู่กับที่
การติดโซลาร์ฟาร์มแบบอยู่กับที่ สามารถรับความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ได้นานและมากที่สุดตลอดวัน แต่ก็ต้องไม่มีเงาต้นไม้ หรือเงาอาคารมาบดบัง เพื่อให้แผงโซลาร์เซลล์สามารถดูดซับแสงอาทิตย์ มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด
ข้อดี
ต้นทุนและค่าดูแลรักษาต่ำกว่าการติดตั้งรูปแบบอื่น มักนิยมติดตามบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หรือสำนักงานขนาดเล็ก
ข้อจำกัด
สำหรับการติดโซลาร์ฟาร์มแบบอยู่กับที่ มีข้อจำกัดว่าต้องอาศัยพื้นที่โล่งกว้าง ไม่มีต้นไม้ หรือตึกมาบดบังแดด ดังนั้น ต้องสำรวจพื้นที่หรือบริเวณที่เหมาะสมกับการรับแสงแดดได้มากและยาวนานที่สุด
โซลาร์ฟาร์มเหมาะกับธุรกิจแบบใด
โซลาร์ฟาร์ม เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในรูปแบบของพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด ซึ่งเหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้าจำนวนมากต่อวัน มาดูกันว่า ธุรกิจที่เหมาะกับโซลาร์ฟาร์มมีอะไรบ้าง
- โกดังสินค้าหรือคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
- โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
- Home Office
- อาคารสำนักงาน
- โรงเรียน
- โรงพยาบาล
- โรงแรมและรีสอร์ต
- ห้างสรรพสินค้า
- ฟาร์มปศุสัตว์
โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ลงทุนเท่าไร
การลงทุนในโซลาร์ฟาร์ม 1 เมกะวัตต์ (MW) เหมาะกับธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จะใช้งบลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท และใช้พื้นที่เฉลี่ยประมาณ 8-15 ไร่ เพื่อให้เพียงพอกับการผลิตไฟฟ้า (ขึ้นอยู่กับรูปแบบการติดตั้งและประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์)
- โซลาร์ฟาร์ม 1 MW ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1,460,000 หน่วยต่อปี เฉลี่ยแล้วสามารถผลิตไฟฟ้าเฉลี่ย 4,000 หน่วยต่อวัน
- หากคิดเป็นรายได้ที่ขายไฟส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า หน่วยละ 2.20 บาท (ระยะเวลา 10 ปี) จะสร้างรายได้ประมาณ 3,212,000 บาทต่อปี หรือ ภายใน 10 ปี จะสร้างรายได้ประมาณ 32,120,000 บาท
- เมื่อนำมาคิดกับค่าไฟยูนิตละ 4.18 บาทต่อหน่วย (มกราคม – เมษายน 2567) ก็สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 6,102,800 บาทต่อปี รวมถึงแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานประมาณ 25-30 ปี
ดังนั้น ความคุ้มค่าของการลงทุนใน 1 ปี กิจการหรือโรงงานขนาดใหญ่ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าและทำให้ได้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว
โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ลงทุนเท่าไร
การลงทุนในฟาร์มโซลาร์เซลล์ 1 ไร่ เหมาะกับกิจการขนาดเล็กหรือพื้นที่จำกัด โดยโซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ ใช้งบลงทุนประมาณ 3-4 ล้านบาท
- โซลาร์ฟาร์ม 1 ไร่ สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ประมาณ 100 กิโลวัตต์ ที่สามารถผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยวันละ 500 หน่วยต่อวัน หรือ 15,000 หน่วยต่อเดือน
- หากคิดเป็นรายได้ที่ขายไฟส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า หน่วยละ 2.20 บาท ด้วยการคำนวณง่ายๆ คือ นำ 2.20 (หน่วยขายคืน) คูณ 500 (หน่วยที่ผลิตไฟได้ต่อวัน) จะเท่ากับรายได้การขายไฟคืน 1,100 บาท ต่อวัน
- คิดเป็นรายได้จากการขายไฟคืน 396,000 – 400,000 บาทต่อปี
ถึงจะเป็นการลงทุนขนาดเล็กในพื้นที่จำกัด ผลิตไฟฟ้าได้น้อย แต่หากมองเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุนใน 1 ปี ถือเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนและค่าบำรุงรักษาต่ำ จึงสามารถสร้างรายได้ได้ต่อเนื่องและสามารถคืนทุนได้ไวในเวลาไม่กี่ปี
ข้อดีของการลงทุนกับโซลาร์ฟาร์ม
- พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด ที่นำมาใช้หมุนเวียนได้อย่างไม่จำกัด จึงลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างมาก
- ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิต ไม่มีการเผาไหม้ ซึ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือการผลิตก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
- โซลาร์ฟาร์มจะนำพลังงานแสงอาทิตย์เวลากลางวันมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ตอนกลางคืน ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานและลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟได้อย่างมาก
- เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือสถานที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
- สามารถติดตั้งได้ง่าย เพราะส่วนประกอบของโซลาร์เซลล์ มีแผงโซลาร์เซลล์ สายไฟ และแบตเตอรี่ ที่ติดตั้งได้ง่าย และเมื่อติดตั้งเสร็จก็สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้ทันที
ข้อจำกัดโซลาร์ฟาร์ม
- การทำโซลาร์ฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ค่อนข้างมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า หากมีพื้นที่จำกัดหรือพื้นที่ไม่เพียงพอ ก็ทำให้กำลังการผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
- แผงโซลาร์เซลล์สามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์และผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ดีในช่วงกลางวันเท่านั้น ดังนั้น ก่อนการติดตั้งจึงต้องสำรวจก่อนว่า บริเวณไหนบ้างที่สามารถรับความเข้มของแสงอาทิตย์ได้ดีที่สุดต่อวัน เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าได้คงที่ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน
- สำหรับการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มต้องคำนึงถึงต้นทุนในการติดตั้ง เช่น จำนวนแผงโซลาร์เซลล์ สายไฟ สายไฟ ท่อร้อยสายไฟ และอุปกรณ์ป้องกันสายไฟอื่นๆ เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนและการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งาน
สรุป
โซลาร์ฟาร์ม คือ โรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์สำคัญอย่างแผงโซลาร์เซลล์ ที่คอยดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้งาน ทั้งในงานอุตสาหกรรม หรือระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่า โซลาร์ฟาร์ม เป็นธุรกิจพลังงานทดแทน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และยังช่วยรักษ์โลกได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าจะเป็นติดที่บ้านหรือติดตั้งรูปแบบฟาร์มโซลาร์เซลล์ ผู้ติดตั้งควรศึกษาอย่างละเอียดก่อนเสมอ เพื่อให้การติดตั้งคุ้มทุนมากที่สุด แต่หากผู้ติดตั้งไม่มั่นใจก็สามารถเข้ามาขอคำปรึกษาและใช้บริการ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ จาก Ewave Thai ผู้เชี่ยวชาญการติดตั้งอุปกรณ์พลังงานทดแทน พร้อมกับการออกแบบและวางแผนการติดตั้งจากวิศวกร รวมถึงการดูแลหลังการขาย เพื่อให้คุณได้มั่นใจตลอดอายุการใช้งาน